เมนู

2. จัตตาริสูตร


ว่าด้วยปัจจัยน้อยหาง่ายไม่มีในโทษ 4


[281] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยน้อยหาได้ง่าย และไม่มีโทษ
อย่างนี้ 4 อย่างเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาจีวร ผ้าบังสุกุล น้อย
หาได้ง่าย และไม่มีโทษ บรรดาโภชนะ คำข้าวที่ได้ด้วยปลีแข้ง น้อย หา
ได้ง่าย และไม่มีโทษ บรรดาเสนาสนะ โคนไม้ น้อยหาได้ง่าย และไม่มีโทษ
บรรดาเภสัช มูตรเน่าน้อย หาได้ง่ายและไม่มีโทษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ปัจจัยน้อย หาได้ง่ายและไม่มีโทษ 4 อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
ตถาคตกล่าวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของภิกษุซึ่งเป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยที่น้อย
หาได้ง่ายและไม่มีโทษ ว่าเป็นองค์แห่งความเป็นสมณะ.
ความคับแค้นแห่งจิต ย่อมไม่มีแก่
ภิกษุผู้สันโดษด้วยปัจจัยน้อย หาได้ง่าย
และไม่มีโทษ เพราะปรารภเสนาสนะ
จีวรปานะและโภชนะ ทิศของเธอชื่อว่าไม่
กระทบกระเทือน ภิกษุผู้สันโดษ ไม่
ประมาท ยึดเหนี่ยวเอาไว้ได้ซึ่งธรรมอัน
สมควรแก่ธรรมเครื่องความเป็นสมณะที่
พระตถาคตตรัสบอกแล้วแก่เธอ.

จบจัตตาริสูตรที่ 2

อรรถกถาจัตตาริสูตร


ในจัตตาริสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อปฺปานิ แปลว่า (ปัจจัย 4) มีน้อย. บทว่า สุลภานิ
คือ อันบุคคลพึงได้โดยง่าย คือ สามารถจะหาได้ในที่ใดที่หนึ่ง. บทว่า
อนวชฺชานิ คือ ชื่อว่า เว้นจากโทษ ได้แก่ ชื่อว่า ไม่มีโทษ เพราะ
การมาบริสุทธิ์ และเพราะไม่มีภาวะเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสมีการประดับกายเป็นต้น.
ในบทว่า อปฺปานิ (มีน้อย) สุลภานิ (หาได้ง่าย) และบทว่า อนวชฺชานิ
(ไม่มีโทษ) นั้น มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความไม่มี
ทุกข์อันเกิดจากการแสวงหาไว้ เพราะความที่ปัจจัย 4 หาได้ง่าย. ทรง
แสดงความไม่มีทุกข์อันเกิดจากการรักษาไว้ เพราะความที่ปัจจัย 4 มีน้อย.
ทรงแสดงความที่ปัจจัย 4 เป็นของสมควรแก่ภิกษุ เพราะใคร ๆ ติเตียน
ไม่ได้ เหตุที่เป็นของไม่มีโทษ. ทรงแสดงความที่ปัจจัย 4 ไม่เป็นที่ตั้ง
แห่งความหวังอันเล็กน้อย เพราะเป็นของมีน้อย. ทรงแสดงว่าปัจจัย 4 ไม่
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะหาได้ง่าย. ทรงแสดงว่าปัจจัย 4 เป็น
ที่ตั้งแห่งนิสสรณปัญญา ด้วยอำนาจแห่งโทษ เพราะหาโทษมิได้. ปัจจัย 4
ไม่ยังโสมนัสให้เกิด เพราะลาภตามที่ได้เนื่องจากมีน้อย ไม่ยังโทมนัสให้เกิด
เพราะไม่ได้ เนื่องจากหาได้ง่าย ไม่ยังอัญญาณุเบกขา ซึ่งมีความเดือดร้อน
เป็นนิมิตให้เกิด เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เดือดร้อน เนื่องจากไม่มีโทษ.
บทว่า ปํสุกูลํ ความว่า จีวรที่เลือกเก็บเอาเศษผ้าที่หล่นตามถนน
เป็นต้นมาทำ ซึ่งได้นามอย่างนี้ว่า บังสุกูล เพราะว่า เป็นเหมือนกองฝุ่น